มาทำความรู้จักกับลวดเชื่อมกันเถอะ

มาทำความรู้จักกับลวดเชื่อมกันเถอะ

ลวดเชื่อมคืออะไร จากชื่อเราอาจจะเดาได้คร่าวๆว่า ต้องมีลวดและการเชื่อมเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างแน่ๆ ซึ่งจริๆแล้วลวดเชื่อมเป็นโลหะที่ใช้เติมลงขณะที่ทำการหลอมละลายโลหะขณะเชื่อม เพื่อเพิ่มปริมาณของเนื้อโลหะ และจะทำให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมมีมากขึ้น สามารถเชื่อมโลหะให้แข็งแรงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ลวดเชื่อมสามารถแบ่งอย่างง่ายๆได้เป็น 2 แบบ คือ ชนิดที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมด้วยไฟฟ้าและชนิดที่ใช้กระบวนการเชื่อมด้วยแก๊ส

  1. Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมด้วยไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่
    1. Consumable หมายถึง ลวดเชื่อมที่เป็นทั้งขั้วไฟฟ้าและลวดเชื่อม ซึ่งลวดเชื่อมแบบนี้เป็นแบบสิ้นเปลือง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม SMAW
    2. Non Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ไม่ใช่ขั้วไฟฟ้าและไม่หลอมละลายไปกับโลหะเชื่อม ซึ่งลวดเชื่อมชนิดนี้จะเป็นแบบไม่สิ้นเปลือง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม GTAW
  2. Non Electrode หมายถึง ลวดเชื่อมที่ไม่ใช่ขั้วไฟฟ้าและเป็นลวดเชื่อมเท่านั้น สามารถแบ่งได้อีก 2 ชนิด
    1. Filler Rod หมายถึง ลวดเชื่อมแบบNon Electrode ที่มีลักษณะเป็นแท่ง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อมแก๊ส
    2. Filler Wire หมายถึง ลวดเชื่อมแบบNon Electrode ที่มีลักษณะเป็นเส้นลวด เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม PAW

                การเลือกใช้ลวดเชื่อมไฟฟ้าให้เหมาะสมกับงาน  เราจะมีหลักการในการเลือกชนิดของลวด หลักๆเลยคือ เราต้องดูจากข้อกําหนดของงาน เราต้องพิจารณาส่วนผสมให้ตรงกับคุณสมบัติและการใช้งานของชิ้นงาน ซึ่งสามารถเลือกได้ดังนี้

  • ความแข็งแรงของชิ้นงาน

                ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่างานที่เราจะทำการเชื่อมนั้นใช้โลหะประเภทไหน เช่น โลหะแบบเหล็กกล้าผสมต่ำ ต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีความแข็งแรงเท่าๆกัน หรือถ้าเป็นโลหะประเภทเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ เราก็ต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีคุณสมบัติที่คล้ายกันอย่างเช่น ลวดเชื่อมในกลุ่ม 60xx

  • ส่วนผสมโลหะของชิ้นงาน

                หลักจากเรารู้แล้วว่าเราต้องการงานที่แข็งแรงแค่ไหน เราก็ต้องดูถึงความเข้ากันได้ของงานโลหะและลวดเชื่อมด้วย ซึ่งเราจะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีส่วนผสมเหมือนหรือคล้ายกับงานโลหะด้วย เช่น ถ้าเป็นเหล็กกล้าผสมสูง ต้องพิจารณาจากตัวอักษรที่ต่อท้ายสัญลักษณ์ เป็นต้น

  • ตำแหน่งท่าเชื่อม อันนี้เราสามารถดูได้บนลวดเชื่อม
  • ชนิดของกระแสไฟที่ใช้

                เพราะลวดแต่ละชนิดจะใช้การเชื่อมด้วยกระแสไฟที่ต่างกัน บ้างก็กระแสสลับ บ้างก็ไฟกระแสตรงนั่นเอง

  • ลักษณะของแนวต่อ

                เราสามารถเลือกวิธีการเชื่อมให้เหมาะกับงานได้ด้วยการพิจารณาจากตัวเลขตัวที่ 4 ของลวดเชื่อมสําหรับมาตรฐานA.W.S.

  • ความหนาและรูปร่างของชิ้นงาน

                หากงานต้องการการเชื่อมที่ดีเราก็ต้องเลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูง

                หากคุณคิดจะซื้อลวดเชื่อมล่ะก็ อย่าลืมเลือกซื้อกับ บริษัท มหาทรัพย์ไพบูลย์ จำกัด นะคะ เพราะสินค้าที่นี่ได้มาตรฐานและยังมีคุณภาพดีอีกด้วย

Visitors: 593,622